วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ต้นไผ่กิมซุง


ภาพ ต้นไผ่กิมซุง
บริเวณช็อปเกษตร
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch
 ชื่อวงศ์
Gramineae
ชื่อสามัญ
Hedge bamboo
ชื่อพื้นเมือง
ไผ่สร้าง ไผ่เชียงไพร ไผ่สร้างไพร เพ็ก
ชนิดพืช
ไม้พุ่ม
อัตราการเจริญเติบโต
เร็ว
ลักษณะทั่วไป
พืชล้มลุกอายุหลายปี  เป็นไม้พุ่มเป็นกอ  ลำต้นตั้งตรง กลม  เป็นทรงกระบอก
กลวง ขนาด 1- 4.5 เซนติเมตร  ผิวเกลี้ยง  สีเขียว ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 20- 30
เซนติเมตร  มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ
การใช้งานด้านภูมิทัศน์
ทรงพุ่มสวย  ปลูกเป็นฉากหลัง  บังสายตา  เป็นแนวรั้ว กันลมปลูกตามแนวทางเดินหรือถนนขนาดเล็กในสวนสาธารณะหรือรีสอร์ท
ประโยชน์
ใช้ทำกระดาษ ทำเครื่องจักสานทำบันได โป๊ะ แม่บันได และทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อนำมาปรุงอาหารได้หลายวิธี เช่น นำมาแกง ต้ม ผัดและดองใส่น้ำพริก ยำหน่อไม้ ลำต้นเรียวเหมาะสำหรับทำคันเบ็ดได้


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไผ่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไผ่ที่มีการแตกกอขนาดใหญ่ และเป็นลำต้นสูงตรง ผอมเรียว ส่วนไผ่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นนั้น เป็นไผ่ที่มีการแตกกอน้อย และมีลำต้นขนาดใหญ่  ไผ่มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า(rhizome) ส่วนโคนของลำต้นเหนือดินจะใหญ่และค่อย ๆ เรียวไปยังส่วนปลายลำต้น หน่อใหม่จะเจริญออกมาจากตาข้างหรือตายอดของเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ไผ่แต่ละลำประกอบด้วยส่วนของปล้องลำต้นที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง และส่วนข้อที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-20 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น ขึ้นกับขนาดของหน่ออ่อนที่เจริญออกมาจากเหง้าใต้ดินอีกด้วย ปล้องที่อยู่บริเวณส่วนกลางของลำต้นมักมีความยาวมากกว่า ปล้องที่อยู่ตรงส่วนโคนหรือส่วนปลายของลำต้น และมีริ้วรอยของกาบใบที่หลุดร่วงไปจากบริเวณข้อของลำต้นด้วย ข้อของลำต้นไผ่บางชนิดอาจมีลักษณะโป่งพอง และอาจพบรากพิเศษเจริญออกมาจากข้อของลำต้นที่อยู่ใกล้กับส่วนโคนของลำต้น
ใบของไผ่ประกอบด้วยส่วนของแผ่นใบ(blade) กาบใบ(sheath proper) ลิ้นใบ(ligule) และเขี้ยวใบ(auricles) ซึ่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดของไผ่ รวมทั้งสีสันของกาบใบที่หุ้มหน่ออ่อน รวมทั้งการมีหนาม ขนหรือความเป็นมันเงาของกาบใบก็แตกต่างกันไปตามชนิดของไผ่ด้วย การแตกกิ่งก้านสาขาของไผ่จะพบตั้งแต่ส่วนโคนของลำต้นไปจนกระทั่งถึงส่วนปลายยอดในไผ่บางชนิด แต่ไผ่บางชนิดมีการแตกกิ่งก้านสาขาเฉพาะส่วนยอดของลำต้นเท่านั้น
ไผ่ออกดอกเป็นช่อซึ่งมีช่อดอกย่อยแบบ Spikelet ช่อดอกของไผ่ถูกแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบ semelauctant ซึ่งมีการเรียงของช่อดอกย่อยออกมาจากทั้งสองด้านแกนกลาง เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ (Raceme) หรือ (panicle) ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นช่อดอกแบบ iterauctant หรือ indeterminate ซึ่งมีช่อดอกแตกออกเป็นกระจุกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
ผลของไผ่เป็นผลธัญพืช (caryopsis) เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในวงศ์หญ้า มีผนังผลเชื่อมติดกับส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ด เมล็ดประกอบด้วย เอ็มบริโอ(embryo) เอนโดสเปิร์ม(endosperm) และใบเลี้ยง 1 ใบ เรียกว่า scutellum เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า จะมีรากปฐมภูมิซึ่งพัฒนามาจากรากแรกเกิด(radicle) ของเอ็มบริโอ ส่วนยอดอ่อน(plumule) จะเจริญเป็นลำต้นโผล่เหนือดิน โดยมีเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น