ภาพ ต้มมะพร้าว
บริเวณหน้าโรงเรียน
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Cocos nucifera L. var. nucifera
|
ชื่อวงศ์
|
Palmae
|
ชื่อสามัญ
|
Coconut tree, Coco palm
|
ชื่อพื้นเมือง
|
คอส่า ดุง หมากอุ่น หมากอุ๋น หมากอูน ย่อ โดง โพล
|
ชนิดพืช [Plant Type]
|
ปาล์มลำเดี่ยว
|
สีดอก [Flower Color]
|
สีเหลือง เขียวแกมเหลือง
|
ลักษณะทั่วไป (Characteristic)
|
ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงหรือโค้ง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป
|
การใช้งานด้านภูมิทัศน์
|
นิยมปลูกในสวนผลไม้ สวนริมทะเล สวนทั่วไป ทนลมแรง ไม่นิยมปลูกใกล้สนามเด็กเล่น และลานจอดรถเพราะใบ ผลร่วงเป็นอันตรายได้
|
ประโยชน์
|
ยอดมะพร้าวใช้แกง เนื้ออ่อนรับประทานได้ เนื้อแก่คั้นเป็นน้ำกะทิใช้ปรุงอาหาร ทำขนม
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5 ซม.
ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ส่วนที่ใช้ : เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้
กะลา ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี
เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว
สรรพคุณทางยา
น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด
ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
ดอก - ใช้สด
เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้
เปลือกผล - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น