ภาพ ต้นโพธิ์
บริเวณโบสถ์หลวงปู่บัว
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Ficus religiosa Linn.
|
วงศ์
|
MORACEAE
|
ชื่อสามัญ
|
Sacred Fig Tree, Pipal Tree
|
ไม้ต้นขนาดใหญ่
|
สูง ๒๐-๓๐ เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๓ เมตร มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่รูปหัวใจ กว้าง ๘-๑๕ เซนติเมตร
|
นิเวศวิทยา
|
ถิ่นกำเนิด อินเดียถึงตะวันออกเฉียงใต้ปลูกได้ทั่วไป
|
ออกดอก
|
ตลอดปี
|
ขยายพันธุ์
|
เมล็ด
|
ประโยชน์
|
เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผล เป็น ยาระบาย ทางยา น้ำจากเปลือกช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ผล ใช้เป็นยาระบายและช่วยย่อย
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นโพธิเป็นไม้ขนาดใหญ่มาก แตกกิ่งก้านสาขา ผลัดใบ ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ผิวใบเป็นมัน เป็นพืชในสกุลเดียวกับไทร กร่าง คือสกุล "Ficus " อยู่ในวงศ์ " Moraceae " ไม้ในวงศ์นี้จะมียางสีขาว โคนต้นจะเป็นพูพอนขนาดใหญ่ ลำต้น แตกกิ่งก้านสาขา ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายยอดจะมีหูใบ เป็นปลอกแหลมสีน้ำตาลแดง
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นโพธิเป็นไม้ขนาดใหญ่มาก แตกกิ่งก้านสาขา ผลัดใบ ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ผิวใบเป็นมัน เป็นพืชในสกุลเดียวกับไทร กร่าง คือสกุล "Ficus " อยู่ในวงศ์ " Moraceae " ไม้ในวงศ์นี้จะมียางสีขาว โคนต้นจะเป็นพูพอนขนาดใหญ่ ลำต้น แตกกิ่งก้านสาขา ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายยอดจะมีหูใบ เป็นปลอกแหลมสีน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันหุ้มมิด กิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่มีสีเขียว ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ห้อยลง ก้านใบยาว ใบรูปป้อม โคนใบป้าน หรือเว้าเข้าเล็กน้อยแล้วผายกว้างออกเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดจะคอด และเป็นติ่งยาวมาก (ประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร) ติ่งน้บางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวของแผ่นใบ ดอก เป็นช่อกลมๆ ออกตอนปลายกิ่ง เจริญไปเป็นผล ผล กลมเล็ก สีเขียว เมื่อแก่จัดสีแดงคล้ำหรือม่วงดำและร่วงหลน
โพธิ ในสกุล Ficus มี 2 ชนิด คือ โพธิใบ Ficus religiosa Linn. ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียก โพธิขี้นก หรือโพธิประสาท มีชื่อวิทยาศาสตร์ F.rumphii Bl. (Mock Bodh Tree) ข้อแตกต่างของโพธิ 2 ชนิดนี้คือ ใบและผล ใบของโพธิขี้นกขนาดใบจะเล็กกว่าของโพธิใบมาก (ติ่งปลายใบไม่เกิน 2 เซนติเมตร) ผลสุกของโพธิขี้นกมีสีดำ ส่วนของโพธิใบจะมีสีแดงคล้ำหรือม่วงดำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น