วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ต้นลีลาวดี




ภาพ ต้นลีลาวดี
บริเวณหน้าอาคาร 2 
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Plumeria spp.
ชื่อวงศ์
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
Frangipani , Pagoda tree, Temple tree
ชื่อพื้นเมือง
ลั่นทม
ลักษณะทั่วไป
ต้น  เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอย
การปลูก
ปลูกในกระถาง ปลูกลงดินในแปลงปลูก
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด  จะใช้ฝักที่แก่จัด  ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย
การใช้ประโยชน์
ไม้ประดับ  สรรพคุณทางยา  ต้น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า ใบ ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
 เปลือกราก  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม เปลือกต้น  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
การปลูกปลูกในกระถาง ปลูกลงดินในแปลงปลูกการขยายพันธุ์   การเพาะเมล็ด  จะใช้ฝักที่แก่จัด  ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ  50 -100  ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี   ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์  หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง การปักชำ  เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้   การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า  การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา
    -    ต้น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
    -    ใบ  ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
    -     เปลือกราก  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
    -    เปลือกต้น  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น