ภาพ 2.1 ต้นหูกวาง
บริเวณข้างห้องสหกรณ์
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ
|
Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
|
ชือวิทยาศาสตร์
|
Terminalia catappa L.
|
วงศ์
|
COMBRETACEAE
|
ชื่ออื่นๆ
|
โคน ดัดมือ ตัดมือ , ตาปัง , ตาแปห์ , หูกวาง , หลุมปัง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ป่าชายหาด ตามโขดหินริมทะเล
|
ประเภท
|
ไม้ยืนต้น
|
การขยายพันธุ์
|
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป
|
รูปร่างลักษณะ
- ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ
- ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร
- ดอก เล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
- ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร
การใช้ประโยชน์ของต้นหูกวาง
เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้ ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย
หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ นอกจากนี้แล้วไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างด้วยกันคือ
1. เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างได้ดี เพราะเป็นไม้ที่มอดและแมลงไม่รบกวาน
2. ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร (ก่องกานดา,2528) ทั้งต้น เป็นยาสมาน แก้ไข้ท้องร่วง บิด ยาระบาย ขับน้ำนม แก้โรคคุททะราด ราก ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ เปลือก มีรสฝาดใช้เป็นยาขับลม สมานแผล แก้ท้องเสีย ตกขาว โรคโกโนเรีย ใบ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท่อนซิลอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับ ใบที่แดงเป็นยาขับพยาธิ ผสมน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดรักษาโรคเรื้อน ทาหน้าอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก ผลใช้เป็นยาถ่าย
3. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมบางอย่าง คือ เปลือกและผล มีสารฝาดมากสามารถใช้ในอุตสาหกรรมย้อนสีผ้าได้ ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก
4. การใช้ประโยชน์อื่น ๆ เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้ ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย อ้อ...และใบหูกวางแห้งก็มีสารแทนนินที่ทำให้สภาพน้ำเหมาะสมกับการใช้เลี้ยงปลากัดอีกด้วยจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น