วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ต้นตาล



ภาพ ต้นตาล
บริเวณโบสถ์หลวงปู่บัว
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
Asian Palmyra palm
ชื่อวิทยาศาสตร์
Borassus flabellifer L.
วงศ์
Palmae
ถิ่นกำเนิด
จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา
ชื่อพื้นเมือง
ตะนอด   ตาลโตนด ตาลใหญ่  ถาล ทอถู  ท้าง ทะเนาด์  โหนด
ลักษณะทั่วไป
ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 30-40 เซนติเมตร ขณะที่ต้นยังเตี้ยอยู่จะมีทางใบแห้งติดแน่น
สีดอก
สีขาวอมเหลือง
ประโยชน์
ผลกินได้ เมื่อสุกมีกลิ่นหอม ผสมแป้งทำขนมหวาน จาวเชื่อม ทำขนม รากและใบใช้ผสมทำยาสมุนไพร
งวงตาลต้มน้ำดื่มแก้พิษตานซาง  ขับพยาธิ  กาบหรือก้านใบอังไฟแล้วบีบเอาน้ำกินแก้ท้องร่วง  ท้องเสียหรืออมแก้ปากเปื่อย

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์
ตาลโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Borasas flabellifer L. จัดอยู่ ในสกุล Borassas ชื่อสามัญ Palmyra Palm นักชีววิทยาเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้แถบฝั่งตะวันออกของอินเดียและกระจายตัวทั่วภูมิภาคเอเชียได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และไทย สำหรับไทยนั้น ตาลโตนดน่าจะมีการปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ได้มีตราประทับรูปคน ปีนต้นตาล แสดงว่าในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลแล้ว นอกจากนี้ตาลยังถูกบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัดศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา
          ตาลโตนดมีชื่อเรียกกันหลายชื่อด้วยกัน  เช่น  ตาลใหญ่  ตาลนาไทย  ทางภาคเหนือเรียก ปลีตาล  ภาคใต้ เรียก โนด  เขมร เรียก  ตะนอย
          ลำต้น ตาลโตนดเป็นพืชลำต้นเดี่ยว (Single stem) ขึ้นจากพื้นดินเพียงต้นเดียว ไม่มีการแตกหน่อ มีขนาดใหญ่เส้นรอบวงประมาณ 2-4 ฟุต ผิวดำเป็นเสี้ยนแข็งมีความสูงจากพื้นดินถึงยอดประมาณ 25-30 เมตร จากข้อมูลของผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับตาลกล่าวว่า ต้นตาลจะเริ่มตั้งสะโพกหลังจาก ปลูกประมาณ 3-5 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร และจะเพิ่มความสูงประมาณปีละ 30-40 เซนติเมตร และผลการประกวดต้นตาลที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี ปี 2550 ปรากฏว่าต้นที่สูงที่สุดอยู่ที่ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด สูงถึง 37.22 เมตรและเป็นต้นที่ยังคงให้ผลผลิตอยู่
          ใบ มีลักษณะยาวใหญ่เป็นรูปพัด (Palmate) ใบจะมีใบย่อยเรียกว่า Segment จะแตกจากจุดๆเดียว ขอบก้านใบจะมีหนามแข็ง และคมติดอยู่เป็น แนวยาวคล้ายใบเลื่อย ยอดตาลประกอบด้วยใบตาลประมาณ 25-40 ใบมีสีเขียวเข้มล้อมรอบลำต้นเป็นรัศมีประมาณ 3-4 เมตร ใบแก่สีน้ำตาลห้อยแนบกับ ลำต้นใน 1 ปีจะแตกใบประมาณ 12-15 ใบหรือเฉลี่ยเดือนละ 1 ใบ
          ดอก ออกดอกเป็นช่อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้จะมีลักษณะเป็นงวงยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร โดยมีกระโปง ห่อหุ้มอยู่ ภายในกระโปงจะมีช่อดอกตัวผู้ประมาณ 3-5 ช่อ การออกของกระโปงจะออกเวียนรอบคอประมาณ 10-15 กระโปงต่อต้น ใน 1 ช่อดอก ประกอบด้วยดอกตัวผู้มากน้อยแล้วแต่ความสมบูรณ์ของช่อดอก ส่วนดอกตัวเมียจะออกจากกระโปงเหมือนกัน จะรู้ว่าเป็นดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย เมื่อออกกระโปงแล้วเท่านั้น จากการสังเกตลักษณะของกระโปงพบว่าถ้ากระโปงปลายแหลมจะเป็นตัวผู้และถ้าผิวกระโปงมีลักษณะเป็นคลื่นๆ จะเป็นตัวเมีย ช่อดอกตัวเมียจะมีลักษณะเป็นทะลายมีผลตาลเล็กๆติดอยู่ ถ้า 1 กระโปงมี 1 ทะลายจะได้ทะลายที่มีผลขนาดใหญ่ เต้ามีขนาดใหญ่และสวย แต่ถ้า 1 กระโปง มีมากกว่า 1 ทะลายจะได้ผลที่มีขนาดเล็ก คุณภาพของผลไม่ดีเท่าที่ควรและเท่าที่ทราบเกษตรกรยังไม่เคยตัดแต่งให้เหลือแค่ 1 ทะลายต่อ 1 กระโปงแต่อย่างใด
          ผล ผลจะเกิดกับต้นตัวเมียเท่านั้น โดยจะออกเวียนรอบต้นตามกาบใบ คือ กาบใบจะออก กระโปงใน ปีจะออกประมาณ 10-12 กระโปง ใน กระโปง จะมีช่อดอก 1-3 ทะลาย และใน ทะลายประกอบด้วยผลตาลอ่อนประมาณ 1-20 ผล และใน ผลจะมี 2-4 เมล็ด (เต้า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น