วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ต้นหูกวาง




ภาพ 2.1  ต้นหูกวาง
บริเวณข้างห้องสหกรณ์

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ  
Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชือวิทยาศาสตร์    
Terminalia  catappa  L.
วงศ์     
COMBRETACEAE
ชื่ออื่นๆ  
โคน  ดัดมือ ตัดมือ ตาปัง ตาแปห์  , หูกวาง ,  หลุมปัง
ถิ่นกำเนิด
ป่าชายหาด ตามโขดหินริมทะเล
ประเภท
ไม้ยืนต้น
การขยายพันธุ์  
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม 
ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี  ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป


รูปร่างลักษณะ
-  ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ
-  ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร
-  ดอก เล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
-  ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร

  การใช้ประโยชน์ของต้นหูกวาง 
เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้  ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย
หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ นอกจากนี้แล้วไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างด้วยกันคือ                  
1.  เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างได้ดี เพราะเป็นไม้ที่มอดและแมลงไม่รบกวาน
2.  ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร (ก่องกานดา,2528)  ทั้งต้น  เป็นยาสมาน แก้ไข้ท้องร่วง บิด ยาระบาย ขับน้ำนม แก้โรคคุททะราด  ราก ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ  เปลือก มีรสฝาดใช้เป็นยาขับลม สมานแผล แก้ท้องเสีย  ตกขาว โรคโกโนเรีย ใบ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท่อนซิลอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับ   ใบที่แดงเป็นยาขับพยาธิ ผสมน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดรักษาโรคเรื้อน ทาหน้าอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก ผลใช้เป็นยาถ่าย
3. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมบางอย่าง  คือ เปลือกและผล  มีสารฝาดมากสามารถใช้ในอุตสาหกรรมย้อนสีผ้าได้ ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก                  
4. การใช้ประโยชน์อื่น ๆ เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้  ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย อ้อ...และใบหูกวางแห้งก็มีสารแทนนินที่ทำให้สภาพน้ำเหมาะสมกับการใช้เลี้ยงปลากัดอีกด้วยจ้า

ต้นเข็ม



ภาพ ต้นเข็ม
บริเวณหลังอาคาร 2

 ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
 ชื่อวิทยาศาสตร์
Ixora chinensis Lamk. Ixora spp
ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด
เป็นพันธุ์ไม้หอมพื้นเมืองแถบอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป
ต้นเข็มเป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็ก
สรรพคุณ
ดอกเข็มขาว เป็นต้นไม้พุ่ม ใช้ดอกใส่พานบูชาพระ ให้ประโยชน์ในทางยา รากมีรสหวาน
ฤดูกาลออกดอก
ออกดอกตลอดปี
การดูแลรักษา
ชอบอยู่กลางแจ้ง ขึ้นได้กับดินทุกชนิดแต่จะชอบดินที่ร่วนซุยมากกว่า



ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์เข็ม
                ต้นเข็ม เดิมเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ จัดว่าเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูง 1-3 เมตร  เข็มหอม หรือเข็มขาวมีสำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก เราจึงพบว่าเข็มหอมมักอยู่กันเป็นพุ่มแน่น โดยแต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-2 เซนติเมตร เปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน เรียงตรงข้าม หน้าใบมัน สีเขียวเข้ม
การปลูกและขยายพันธุ์เข็ม
                ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี   เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง  ออกรากได้ง่าย ปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาง่าย ทนทาน มีอายุยืนนานหลายปี ชอบดินที่มีความชื้นสูงและชอบแดดจัด ต้นที่ปลูกในที่มีแสงน้อยหรือได้รับร่มเงาของต้นไม้อื่น จะมีกิ่งยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก
สรรพคุณทางยา:
    -    รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร
    -    ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
    -    ดอกแก้โรคตาแดง ตาแฉะ
    -    ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มีความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ต้นไทร





ภาพ ต้นไทร
บริเวณหน้าเสาธง
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Suregada multiflorum Baill.
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด
ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป
ต้น  ไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อย
การปลูก
ปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา
ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำ




ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์
ชื่ออื่น : กระดูกยายปลูกขนุนดงขอบนางนั่งขัณฑสกรช้องรำพันสลอดน้ำขันทองมะดูกหมายดูกข้าวตากขุนทองคุณทองดูกขันทองพยาบาทดูกไม
รูปลักษณะ : ไทร เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม

สรรพคุณทางยา:
เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค เปลือกต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน ยาถ่ายและฆ่าพยาธิ
รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ)
รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ)
 รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ  บำรุงน้ำนม
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข

ต้นชบา




ภาพ ต้นชบา
 บริเวณหน้าโรงเรียน
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ 
Chinese rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Hibiscus rosa sinensis.
ตระกูล
 MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด
จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น เปลือกสีเทาปนน้ำตาล
การดูแล
  เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
การขยายพันธ์
ตอน ปักชำ
สีดอก
สีขาว ม่วง ชมพู เหลือง ส้ม

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่ม
ขนาด [Size] : สูง 2-3 เมตร
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : เร็ว
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง-ต่ำ
แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น เปลือกสีเทาปนน้ำตาล
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-9 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ปลาย
ใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร
ดอก (Flower) : มีหลายสีขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น สีขาว ม่วง เหลือง ส้ม และชมพู ออกเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง
มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน โคนกลีบดอกซ้อนเกยกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง
7-9 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปกลมถึงยาว
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวยมีสีสัน ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ปลูกในสวนสาธารณะ ตัดแต่งทรงพุ่มทำรั้วได้ ปลูกริมถนน ริมทางเดิน ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ ริมทะเล
ประโยชน์ : ดอกตำพอกหรือทาบำรุงเส้นผม

ต้นราชพฤกษ์





ภาพ ต้นราชพฤกษ์
บริเวณหน้าโรงเรียน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cassia fistula Linn.
วงศ์
Leguminosae
ชื่อสามัญ
Golden Shower, Indian Laburnum
ชื่อพื้นเมือง
คูน ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง) ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ลักเคยลักเกลือ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป
ราชพฤกษ์ หรือคูน เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นอาจจะมีปุ่มตาบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นรูปทรงกรวยหรือรูปทรงกลมกลายๆ เรือนยอดโปร่ง (open crown) ความยาวเรือนยอดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปจะเป็น 2 ใน 5 ของความสูงทั้งหมด
การดูแล
ควรขุดหลุมให้มีระยะห่างระหว่างต้นห่างกันพอสมควรขนาดของหลุมตามความเหมาะสม
การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด
ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง(ภาคเหนือ) ลักเกลือ ลักเคย (ปัตตานี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) กุเพยะ (กระเหรี่ยง)
ลักษณะ ของพืชคูนเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลมดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักกลมยาวเวลาฝักอ่อนจะมีสีเขียวใบไม้ แก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
รสและสรรพคุณ
  รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ไม่ปวดมวนในช่องท้อง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
           เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein,Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinoneทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำใช้เนื้อในฝักคูนแล้วไม่จำเป็นต้องไปรับประทานยาถ่ายอีกเพราะเนื้อฝักคูนเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ดีมาก
วิธีใช้
            เนื้อในฝักคูน แก้อาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี โดยการนำเอาเนื้อฝักคูนที่แก่แล้วเอามาสักก้อนหนึ่งขนาดนิ้วหัวแม่มือ หรือขนาดประมาณ กรัมเอามาต้มกับน้ำ ใส่เกลือเข้าไปเล็กน้อย ดื่มต้นเช้าก่อนอาหาร สำหรับสตรีมีครรภ์ สามารถเอาพืชสมุนไพรนี้มาใช้ได้โดยไม่เป็นอันตราย

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์
ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง(ภาคเหนือ) ลักเกลือ ลักเคย (ปัตตานี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) กุเพยะ (กระเหรี่ยง) คูนเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลมดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักกลมยาวเวลาฝักอ่อนจะมีสีเขียวใบไม้ แก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัว
สรรพคุณทางยา
รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ไม่ปวดมวนในช่องท้อง  เนื้อในฝักคูน แก้อาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี โดยการนำเอาเนื้อฝักคูนที่แก่แล้วเอามาสักก้อนหนึ่งขนาดนิ้วหัวแม่มือ หรือขนาดประมาณ กรัมเอามาต้มกับน้ำ ใส่เกลือเข้าไปเล็กน้อย ดื่มต้นเช้าก่อนอาหาร สำหรับสตรีมีครรภ์ สามารถเอาพืชสมุนไพรนี้มาใช้ได้โดยไม่เป็นอันตราย


ต้นตาล



ภาพ ต้นตาล
บริเวณโบสถ์หลวงปู่บัว
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
Asian Palmyra palm
ชื่อวิทยาศาสตร์
Borassus flabellifer L.
วงศ์
Palmae
ถิ่นกำเนิด
จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา
ชื่อพื้นเมือง
ตะนอด   ตาลโตนด ตาลใหญ่  ถาล ทอถู  ท้าง ทะเนาด์  โหนด
ลักษณะทั่วไป
ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 30-40 เซนติเมตร ขณะที่ต้นยังเตี้ยอยู่จะมีทางใบแห้งติดแน่น
สีดอก
สีขาวอมเหลือง
ประโยชน์
ผลกินได้ เมื่อสุกมีกลิ่นหอม ผสมแป้งทำขนมหวาน จาวเชื่อม ทำขนม รากและใบใช้ผสมทำยาสมุนไพร
งวงตาลต้มน้ำดื่มแก้พิษตานซาง  ขับพยาธิ  กาบหรือก้านใบอังไฟแล้วบีบเอาน้ำกินแก้ท้องร่วง  ท้องเสียหรืออมแก้ปากเปื่อย

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์
ตาลโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Borasas flabellifer L. จัดอยู่ ในสกุล Borassas ชื่อสามัญ Palmyra Palm นักชีววิทยาเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้แถบฝั่งตะวันออกของอินเดียและกระจายตัวทั่วภูมิภาคเอเชียได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และไทย สำหรับไทยนั้น ตาลโตนดน่าจะมีการปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ได้มีตราประทับรูปคน ปีนต้นตาล แสดงว่าในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลแล้ว นอกจากนี้ตาลยังถูกบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัดศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา
          ตาลโตนดมีชื่อเรียกกันหลายชื่อด้วยกัน  เช่น  ตาลใหญ่  ตาลนาไทย  ทางภาคเหนือเรียก ปลีตาล  ภาคใต้ เรียก โนด  เขมร เรียก  ตะนอย
          ลำต้น ตาลโตนดเป็นพืชลำต้นเดี่ยว (Single stem) ขึ้นจากพื้นดินเพียงต้นเดียว ไม่มีการแตกหน่อ มีขนาดใหญ่เส้นรอบวงประมาณ 2-4 ฟุต ผิวดำเป็นเสี้ยนแข็งมีความสูงจากพื้นดินถึงยอดประมาณ 25-30 เมตร จากข้อมูลของผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับตาลกล่าวว่า ต้นตาลจะเริ่มตั้งสะโพกหลังจาก ปลูกประมาณ 3-5 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร และจะเพิ่มความสูงประมาณปีละ 30-40 เซนติเมตร และผลการประกวดต้นตาลที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี ปี 2550 ปรากฏว่าต้นที่สูงที่สุดอยู่ที่ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด สูงถึง 37.22 เมตรและเป็นต้นที่ยังคงให้ผลผลิตอยู่
          ใบ มีลักษณะยาวใหญ่เป็นรูปพัด (Palmate) ใบจะมีใบย่อยเรียกว่า Segment จะแตกจากจุดๆเดียว ขอบก้านใบจะมีหนามแข็ง และคมติดอยู่เป็น แนวยาวคล้ายใบเลื่อย ยอดตาลประกอบด้วยใบตาลประมาณ 25-40 ใบมีสีเขียวเข้มล้อมรอบลำต้นเป็นรัศมีประมาณ 3-4 เมตร ใบแก่สีน้ำตาลห้อยแนบกับ ลำต้นใน 1 ปีจะแตกใบประมาณ 12-15 ใบหรือเฉลี่ยเดือนละ 1 ใบ
          ดอก ออกดอกเป็นช่อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้จะมีลักษณะเป็นงวงยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร โดยมีกระโปง ห่อหุ้มอยู่ ภายในกระโปงจะมีช่อดอกตัวผู้ประมาณ 3-5 ช่อ การออกของกระโปงจะออกเวียนรอบคอประมาณ 10-15 กระโปงต่อต้น ใน 1 ช่อดอก ประกอบด้วยดอกตัวผู้มากน้อยแล้วแต่ความสมบูรณ์ของช่อดอก ส่วนดอกตัวเมียจะออกจากกระโปงเหมือนกัน จะรู้ว่าเป็นดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย เมื่อออกกระโปงแล้วเท่านั้น จากการสังเกตลักษณะของกระโปงพบว่าถ้ากระโปงปลายแหลมจะเป็นตัวผู้และถ้าผิวกระโปงมีลักษณะเป็นคลื่นๆ จะเป็นตัวเมีย ช่อดอกตัวเมียจะมีลักษณะเป็นทะลายมีผลตาลเล็กๆติดอยู่ ถ้า 1 กระโปงมี 1 ทะลายจะได้ทะลายที่มีผลขนาดใหญ่ เต้ามีขนาดใหญ่และสวย แต่ถ้า 1 กระโปง มีมากกว่า 1 ทะลายจะได้ผลที่มีขนาดเล็ก คุณภาพของผลไม่ดีเท่าที่ควรและเท่าที่ทราบเกษตรกรยังไม่เคยตัดแต่งให้เหลือแค่ 1 ทะลายต่อ 1 กระโปงแต่อย่างใด
          ผล ผลจะเกิดกับต้นตัวเมียเท่านั้น โดยจะออกเวียนรอบต้นตามกาบใบ คือ กาบใบจะออก กระโปงใน ปีจะออกประมาณ 10-12 กระโปง ใน กระโปง จะมีช่อดอก 1-3 ทะลาย และใน ทะลายประกอบด้วยผลตาลอ่อนประมาณ 1-20 ผล และใน ผลจะมี 2-4 เมล็ด (เต้า)

ต้มมะพร้าว





ภาพ  ต้มมะพร้าว
บริเวณหน้าโรงเรียน
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cocos nucifera L. var. nucifera
ชื่อวงศ์
 Palmae
ชื่อสามัญ
Coconut tree, Coco palm
ชื่อพื้นเมือง
คอส่า ดุง หมากอุ่น หมากอุ๋น หมากอูน  ย่อ โดง โพล
ชนิดพืช [Plant Type]
ปาล์มลำเดี่ยว
สีดอก [Flower Color]
สีเหลือง  เขียวแกมเหลือง
ลักษณะทั่วไป (Characteristic)
ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงหรือโค้ง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป
การใช้งานด้านภูมิทัศน์
นิยมปลูกในสวนผลไม้ สวนริมทะเล สวนทั่วไป ทนลมแรง ไม่นิยมปลูกใกล้สนามเด็กเล่น และลานจอดรถเพราะใบ ผลร่วงเป็นอันตรายได้
ประโยชน์
ยอดมะพร้าวใช้แกง เนื้ออ่อนรับประทานได้ เนื้อแก่คั้นเป็นน้ำกะทิใช้ปรุงอาหาร ทำขนม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5 ซม.
ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ส่วนที่ใช้ : เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้
กะลา  ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี
เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว
สรรพคุณทางยา
น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด
ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
ดอก - ใช้สด
เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้
เปลือกผล  - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ